ล้าง ซ่อม ติดตั้ง ทำระบบแอร์ AHU


ระบบปรับอากาศ AHU ออกแบบติดตั้งปรับปรุงระบบปรับอากาศ AHU คุณภาพดี ราคาถูก งานติดตั้งระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบ AHU คือเครื่องส่งลมหรือเครื่องควบคุมอากาศคือการนำอากาศจากภายนอกเข้ามา ปรับอากาศและส่งอากาศไปยังอาคาร อากาศที่หมุนเวียนแล้ว (exhaust air) จะถูกระบายออกเพื่อรักษาคุณภาพอากาศภายในอาคาร ทั้งนี้อากาศภายนอกอาจจะถูกทำให้ร้อนโดยหน่วยนำความร้อนกลับมาใช้ (recovery unit) หรือคอยล์ทำความร้อน (heating coil) หรือถูกทำให้เย็นโดยคอยล์ทำความเย็น (cooling coil) ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศที่ต้องการ ซึ่งภายในอาคารซึ่งมีข้อกำหนดทางอนามัยสำหรับคุณภาพอากาศต่ำกว่า อากาศบางส่วนจากภายในห้องต่างๆ สามารถถูกหมุนเวียนกลับไปใช้โดยห้องผสม (mixing chamber) ซึ่งจะส่งผลให้สามารถประหยัดพลังงานลงได้มาก ห้องผสม (mixing chamber) มีบานปรับ (damper) สำหรับควบคุมอัตราส่วนระหว่างอากาศที่หมุนเวียนกลับมาใช้ อากาศใหม่จากภายนอก และอากาศที่ระบายทิ้ง ข้อดีของ AHU คือสามารถควบคุมการจ่ายลม และนำส่งลมไปในพื้นที่ที่เราต้องการควบคุมได้ ซึ่งความต้องการเมื่อต้องใช้ AHU เพื่อจ่ายลมในปริมาณมากๆไปยังพื้นที่ที่ต้องการเช่น ห้องประชุม, Lobby โรงแรม, ห้องอาหาร, สำนักงาน  ฯลฯ ผ่านท่อลมลมเย็น(Supply Air Duct) และจ่ายออกด้วยหัวจ่ายลมแบบต่างๆ AHU สำหรับประเทศไทย เราต้องการอุณหภูมิด้านคอยล์ทำความเย็น (Cooling coil) เพื่อปรับอากาศภายในอาคาร เพราะเมืองไทยของเราซึ่งจัดว่าเป็นเมืองที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น จำเป็นจะต้องใช้ระบบปรับอากาศกันแทบทั้งสิ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ให้ความเย็นที่พอเหมาะเท่านั้น แต่เพื่อควบคุมคุณภาพของการผลิตด้วยและแน่นอนว่าจะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ เพื่อซื้อพลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้ ซึ่งสำหรับอาคารส่วนใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมดจะอยู่ ที่ระบบปรับอากาศนั่นเอง และนั่นหมายถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสามารถลดค่าพลังงานในส่วนนี้โดยการต่อ AHU เข้ากับ Chiller ซึ่งเป็นระบบปรับอากาศประสิทธิภาพสูงที่ช่วยประหยัดพลังงานและประหยัดงบประมาณ สำหรับอาคารขนาดใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรม Chiller คือ เครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำเย็นหรือปรับอุณหภูมิน้ำ เย็นและส่งไปยังเครื่องปรับอากาศที่มีอยู่ในห้องต่างๆ ของอาคารแต่ละอาคาร หลักการทำงาน คือ จะนำสารทำความเย็น (ก๊าซเย็นความดันต่ำ) โดยอยู่ในสภาวะไออิ่มตัวมาอัดที่ตัว Compressor จากนั้นสารทำความเย็นจะถูกอัดโดยเครื่องอัด จนมีสภาวะเป็นไอร้อน (Superheated Vapor) มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง หลังจากนั้นสารทำความเย็นจะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเครื่องควบแน่น (Condenser)เพื่อ ถ่ายเทความร้อนออกทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวอิ่มตัวที่มี ความดันสูง จากนั้นของเหลวอิ่มตัวความดันสูงจะเคลื่อนที่ผ่านอุปกรณ์ขยายตัว (อุปกรณ์ลดแรงดัน) สารทำความเย็นจะมี 2 สถานะ คือ ของเหลวและก๊าซที่มีอุณหภูมิต่ำและความดันต่ำ หลังจากนั้นจะผ่านเข้าไปในเครื่องระเหย (Evaporator) ทำ ให้สารทำความเย็นรับความร้อนจากการโหลดนั้นๆ และกลายสภาพเป็นไออิ่มตัว ซึ่งวัฏจักรการทำความเย็นจะดำเนินเช่นนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ หมุนเวียนเป็นวงจรเช่นนี้ตลอดเวลา จึงทำให้ Chiller สามารถผลิตน้ำเย็นได้อย่างต่อเนื่อง จึงสามารถส่งน้ำเย็นนี้ไปจ่ายให้เครื่องปรับอากาศที่อยู่ตามอาคารต่างๆ ที่ไกลจากเครื่อง Chiller ได้

            
                  

    

  

                    

Visitors: 5,640